แต่หากจะพูดถึงงานที่ทำให้อาชีพผู้กำกับของ หลิวเจียเหลียง มั่นคงขึ้นมาทันที ก็คือ "ถล่มเจ้าระฆังทอง" (1977) หนังกังฟูสุดฮิต ที่เล่าถึงจอมยุทธต้นกำเนิดมวยสายหงกวน อย่าง "หงซีกวน"
ถล่มเจ้าระฆังทอง จับเอาเหตุการณ์ในสมัยเฉียนหลง ที่เหล่าชาวฮั่นโดนกวาดล้างหนัก ฐานที่มั่นสำคัญอย่างเสาหลินโดนเผาจนราบ หงซีกวน (เฉินกวนไท้) ที่เอาชีวิตรอดมาได้ ต้องต่อสู้กับศัตรูตัวร้ายอย่างนักพรตคิ้วขาว "ไป๋เม่ย" (สวมบทอย่างยอดเยี่ยมโดย หลอลี่) ที่ฝึกฝนหนักแค่ก็ยังพ่ายแพ้ ถึงขั้นโดนสังหาร จนต้องให้ลูกชายคือ หงเหวินติง (หวังยี่) มารับหน้าที่สืบสานต่อหน้าที่แทน
หลังจากนั้นเขายังดังสุด ๆ กับ "ยอดมนุษย์ยุทธจักร" (1978) หนังเกี่ยวกับวัดเส้าหลิน ที่ฝรั่งยังกรี๊ดเมื่อถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายในสหรัฐฯ ด้วยชื่อ Master Killer
แต่งานในยุคแรกของ หลิวเจียเหลียง ที่ถือว่าน่าสนใจที่สุด และสมควรจะกล่าวถึงเป็นพิเศษก็คือ "จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต" (1976) หนังที่เล่าเรื่องชีวิตในช่วงต้นของปรมาจารย์ หวงเฟยหง
กับการฝึกฝนวิชามวย "หงกวน" จากอาจารย์ของบิดาที่ชื่อว่า ลู่อาไฉ (เฉินกวนไท้) เป็นหนังกังฟูเรียบง่ายแต่หนักแน่น และจริงจัง เนื้อหาพูดถึงการเติบโตของจอมยุทธ์ จากเด็กหนุ่มที่ไม่เคยฝึกมวยมาก่อน จนกลายเป็นจอมยุทธขึ้นมาได้ ด้วยการเล่าเรื่องที่น่าเชื่อถือและลึกซึ้ง กับเนื้อเรื่องที่คล้าย ๆ กับ "ไอ้หนุ่มหมัดเมา" แต่ตัดเรื่องการดื่มเหล้า และความตลกออกไป งานของ หลิวเจียเหลียง มักจะพูดถึงความสัมพันธ์ของศิษย์กับอาจารย์ และเรื่องราวการฝึกตนของตัวละคร ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ฝึกฝนยอดวิชาอันไร้เทียมทาน แต่ยังรวมถึงการอุตสาหะเอาชนะความยากลำบาก แลพัฒนาจิตใจของตัวละครด้วย และที่สำคัญ จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต ยังมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในหนังกังฟูทั่วไป คือ เนื้อเรื่องที่ว่าด้วย
การให้อภัยกัน เมื่อในตอนท้ายของเรื่องตัวละครเอกที่เพียรฝึกวิชาเพื่อแก้แค้นแทนผู้มีพระคุณ ที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม กลับลงเอยด้วยการปล่อยวางความแค้น เป็นฉากที่แทบไม่ปรากฏอยู่ในหนังแนวนี้เลย หลิวเจียเหลียง เป็นนักบู๊ที่ฝึกมวยมาจริง ๆ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของ หลิวชาน ศิษย์ของ หลินซื่อหยง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหวงเฟยหงอีกต่อหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะทำหนังที่ว่าด้วยมวยตระกูลหงกวน และสายเส้าหลินได้ดีเป็นพิเศษ มวยตระกูลนี้แม้จะตั้งชื่อตาม หงซีกวน แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวีรบุรุษแห่งเส้าหลินผู้นี้อยู่สักเท่าไหร่ ปรมาจารย์ต้นสายของ หงกวน ที่พอจะสืบค้นได้ก็เห็นจะเป็น ลู่อาไฉ ตัวละครเอกตัวหนึ่งใน จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ของหวงเฟยหง และ
ยังเป็นอาจารย์ปู่ทวดของ หลิวเจียเหลียง ด้วย ชีวประวัติเรื่องราวของ ลู่อาไฉ คือสิ่งที่ หลิวเจียเหลียง พยายามจะดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ให้ได้ แต่เพราะในช่วงท้ายของชีวิตสุขภาพของเขาทรุดโทรมไปมา ความตั้งใจดังกล่าวจึงไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้ แม้จะน่าเสียดาย แต่อย่างน้อย จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโตที่ หลิวเจียเหลียง ฝากเอาไว้ ก็ถือว่ายิ่งใหญ่เพียงพอแล้ว กังฟูไม่ได้เอาไว้ฆ่ากัน และไม่ใช่เฉพาะ "จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต" เท่านั้น หากจะย้อนกลับไปดูบรรดาหนังยุคคลาสสิกของผู้กำกับระดับตำนาน หลิวเจียเหลียง จะพบว่ามีอยู่หลายเรื่องที่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากหนังกังฟูจำนวนมาก เพราะไม่ได้มุ่งไปถึงเรื่องฆ่าฟัน แม้บทบู๊จะยังโดดเด่นดูมันส์ สนุกตื่นเต้นเหมือนเดิมก็ตาม "ถล่มสำนักสิงห์กวางตุ้ง"
(1978) เป็นหนังที่ หลิวเจียเหลียง เล่าถึงชีวิตวัยหนุ่มของ หวงเฟยหง อีกครั้ง ในท้องเรื่องที่ว่าด้วยความขัดแย้งของสองสำนักกังฟูประจำเมือง ซึ่งก่อเรื่องวิวาทกันอยู่เป็นประจำ และหนึ่งในนั้นก็คือสำนักของ หวงเฟยหง นั่นเอง ความบาดหมางระหว่างสำนักมวยทั้งสอง บานปลายถึงขั้นกลายเป็นเรื่องใหญ่โต และไม่มีทีท่าว่าจะหาข้อยุติได้ง่าย ๆ จนเมื่อสำนักคู่อริไปได้ยอดฝีมือจากทางเหนือมาเป็นกำลังสำคัญ ฝ่ายของ หวงเฟยหง ก็ดูจะลำบากขึ้นมาทันที นอกจากคิวบู๊มัน ๆ แล้ว ถล่มสำนักสิงห์กวางตุ้ง ยังพูดถึงความเป็นไม้เบื่อไม้เมากันระหว่างคนภาคเหนือแถบปักกิ่ง กับคนไต้ในกวางตุ้งได้น่าสนใจดี และมีบทสรุปจบท้ายในแง่บวก ที่ให้ตัวละครสามารถเอาชนะความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรม จนสามารถปรองดองกันได้ในที่สุด หลิวเจียเหลียง ยังมีงานที่เป็นหนังกังฟูประเภทที่ไม่มีบรรยากาศของการฆ่าฟันอะไรเลย แบบนี้อยู่อีกหลายเรื่อง "คุณย่ายังสาว" (1981) เล่าถึงสาวสวย (ฮุ่ยอิงหง) ที่แต่งเข้าตระกูลใหญ่ กลาย
เป็นภรรยาของเจ้าตระกูล แต่สามีสูงวัยกลับตายไปตั้งแต่ก่อนเธอจะเข้าบ้าน และได้พบหน้าเขาด้วยซ้ำ จนเธอต้องกลายเป็นม่ายทันทีที่เดินทางมาถึงบ้านของฝ่ายชาย แถมยังต้องใช้วิชากังฟูของตัวเอง มาช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งแย่งสมบัติในตระกูลอีก ส่วน "ไอ้หนุ่มมวยจีน" (1980) เป็นหนังที่ว่าด้วยความรักความเกลียดของ จีนกับญี่ปุ่น แต่นำเสนอในมุมมองเบา ๆ ไม่ได้จงเกลียดจงชังอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้เหมือนหนังจีนบางเรื่อง หนังพูดถึงหนุ่มกังฟูที่ถูกจับแต่งงานกับสาวญี่ปุ่น และต้องไปพิสูจน์ฝีมือว่าตัวเองคู่ควรกับเธอ ด้วยการประลองกับยอดฝีมือของญี่ปุ่นถึง 7 คน เป็นหนังที่ต้องบอกว่าแทบไม่มีใครตายให้เห็นเลย แต่ทั้งหมดทั้งมวลของหนังโดย หลิวเจียเหลียง ที่มีน้ำเสียงต่อต้านความรุนแรง, ให้มุมมองที่แตกต่าง ไม่ได้นำเสนอกังฟูในฐานะวิชาแห่งการฆ่ากันก็คือ "18 เจ้าอาวุธมหาประลัย" (1981) หนังเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงสมัยซูสีไทเฮา เมื่อช่วงก่อนจะเกิดความโกลาหลในเหตุการณ์ "กบฏนักมวย" เล็กน้อย ที่ราชสำนักชิงได้มีคำสั่งให้เหล่าสำนักมวยมาเป็นกำลังให้กับราชสำนักเพื่อต่อต้านชาวต่างชาติ แต่แล้ว
ยอดฝีมือคนหนึ่งกลับเลือกยุบสำนักสาขาของตัวเองทิ้งแบบไร้สาเหตุ จนต้องมีการส่งคนเข้าไปสืบสาวราวเรื่อง หนังเฉลยว่ายอดฝีมือคนนี้ (หลิวเจียเหลียง สวมบทบาทเอง) ได้เกิดคำถามในใจว่าวิชามวยของตัวเอง กำลังจะตกเป็นเครื่องมือของราชสำนัก ในการมอมเมาประชาชน ด้วยคำลวงให้เชื่อว่าจีนจะสามารถต่อกรกับปืนไฟของต่างชาติได้ หากมีวิชาหมัดมวย และวิชาอยู่ยงคงกระพันธ์พวกนี้ แต่เขากลับมองเห็นว่านั่นเป็นเพียงเรื่องเป็นไปไม่ได้ และมีแต่จะทำให้คนจีนต้องตายไปอย่างไร้ค่าเท่านั้น แน่นอนว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของ 18 เจ้าอาวุธมหาประลัย ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างผู้ทรยศกับบรรดามือดีของสำนักต่าง ๆ ที่ทางการส่งมากำราบเขา แต่เนื้อหาใจความของหนังนั้นก็ชัดเจน ว่าเป็นการตั้งคำถามถึงการใช้ความรุนแรง ถือว่าเป็นคำถาม และบทเรียนที่ปรมาจารย์ หลิวเจียเหลียง ฝากเอาไว้แม้ตัวท่านจะไม่อยู่บนโลกแล้วก็ตาม
ภาพจาก.....อินเตอร์เนท
กับการฝึกฝนวิชามวย "หงกวน" จากอาจารย์ของบิดาที่ชื่อว่า ลู่อาไฉ (เฉินกวนไท้) เป็นหนังกังฟูเรียบง่ายแต่หนักแน่น และจริงจัง เนื้อหาพูดถึงการเติบโตของจอมยุทธ์ จากเด็กหนุ่มที่ไม่เคยฝึกมวยมาก่อน จนกลายเป็นจอมยุทธขึ้นมาได้ ด้วยการเล่าเรื่องที่น่าเชื่อถือและลึกซึ้ง กับเนื้อเรื่องที่คล้าย ๆ กับ "ไอ้หนุ่มหมัดเมา" แต่ตัดเรื่องการดื่มเหล้า และความตลกออกไป งานของ หลิวเจียเหลียง มักจะพูดถึงความสัมพันธ์ของศิษย์กับอาจารย์ และเรื่องราวการฝึกตนของตัวละคร ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ฝึกฝนยอดวิชาอันไร้เทียมทาน แต่ยังรวมถึงการอุตสาหะเอาชนะความยากลำบาก แลพัฒนาจิตใจของตัวละครด้วย และที่สำคัญ จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต ยังมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในหนังกังฟูทั่วไป คือ เนื้อเรื่องที่ว่าด้วย
การให้อภัยกัน เมื่อในตอนท้ายของเรื่องตัวละครเอกที่เพียรฝึกวิชาเพื่อแก้แค้นแทนผู้มีพระคุณ ที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม กลับลงเอยด้วยการปล่อยวางความแค้น เป็นฉากที่แทบไม่ปรากฏอยู่ในหนังแนวนี้เลย หลิวเจียเหลียง เป็นนักบู๊ที่ฝึกมวยมาจริง ๆ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของ หลิวชาน ศิษย์ของ หลินซื่อหยง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหวงเฟยหงอีกต่อหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะทำหนังที่ว่าด้วยมวยตระกูลหงกวน และสายเส้าหลินได้ดีเป็นพิเศษ มวยตระกูลนี้แม้จะตั้งชื่อตาม หงซีกวน แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวีรบุรุษแห่งเส้าหลินผู้นี้อยู่สักเท่าไหร่ ปรมาจารย์ต้นสายของ หงกวน ที่พอจะสืบค้นได้ก็เห็นจะเป็น ลู่อาไฉ ตัวละครเอกตัวหนึ่งใน จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ของหวงเฟยหง และ
ยังเป็นอาจารย์ปู่ทวดของ หลิวเจียเหลียง ด้วย ชีวประวัติเรื่องราวของ ลู่อาไฉ คือสิ่งที่ หลิวเจียเหลียง พยายามจะดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ให้ได้ แต่เพราะในช่วงท้ายของชีวิตสุขภาพของเขาทรุดโทรมไปมา ความตั้งใจดังกล่าวจึงไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้ แม้จะน่าเสียดาย แต่อย่างน้อย จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโตที่ หลิวเจียเหลียง ฝากเอาไว้ ก็ถือว่ายิ่งใหญ่เพียงพอแล้ว กังฟูไม่ได้เอาไว้ฆ่ากัน และไม่ใช่เฉพาะ "จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต" เท่านั้น หากจะย้อนกลับไปดูบรรดาหนังยุคคลาสสิกของผู้กำกับระดับตำนาน หลิวเจียเหลียง จะพบว่ามีอยู่หลายเรื่องที่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากหนังกังฟูจำนวนมาก เพราะไม่ได้มุ่งไปถึงเรื่องฆ่าฟัน แม้บทบู๊จะยังโดดเด่นดูมันส์ สนุกตื่นเต้นเหมือนเดิมก็ตาม "ถล่มสำนักสิงห์กวางตุ้ง"
(1978) เป็นหนังที่ หลิวเจียเหลียง เล่าถึงชีวิตวัยหนุ่มของ หวงเฟยหง อีกครั้ง ในท้องเรื่องที่ว่าด้วยความขัดแย้งของสองสำนักกังฟูประจำเมือง ซึ่งก่อเรื่องวิวาทกันอยู่เป็นประจำ และหนึ่งในนั้นก็คือสำนักของ หวงเฟยหง นั่นเอง ความบาดหมางระหว่างสำนักมวยทั้งสอง บานปลายถึงขั้นกลายเป็นเรื่องใหญ่โต และไม่มีทีท่าว่าจะหาข้อยุติได้ง่าย ๆ จนเมื่อสำนักคู่อริไปได้ยอดฝีมือจากทางเหนือมาเป็นกำลังสำคัญ ฝ่ายของ หวงเฟยหง ก็ดูจะลำบากขึ้นมาทันที นอกจากคิวบู๊มัน ๆ แล้ว ถล่มสำนักสิงห์กวางตุ้ง ยังพูดถึงความเป็นไม้เบื่อไม้เมากันระหว่างคนภาคเหนือแถบปักกิ่ง กับคนไต้ในกวางตุ้งได้น่าสนใจดี และมีบทสรุปจบท้ายในแง่บวก ที่ให้ตัวละครสามารถเอาชนะความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรม จนสามารถปรองดองกันได้ในที่สุด หลิวเจียเหลียง ยังมีงานที่เป็นหนังกังฟูประเภทที่ไม่มีบรรยากาศของการฆ่าฟันอะไรเลย แบบนี้อยู่อีกหลายเรื่อง "คุณย่ายังสาว" (1981) เล่าถึงสาวสวย (ฮุ่ยอิงหง) ที่แต่งเข้าตระกูลใหญ่ กลาย
เป็นภรรยาของเจ้าตระกูล แต่สามีสูงวัยกลับตายไปตั้งแต่ก่อนเธอจะเข้าบ้าน และได้พบหน้าเขาด้วยซ้ำ จนเธอต้องกลายเป็นม่ายทันทีที่เดินทางมาถึงบ้านของฝ่ายชาย แถมยังต้องใช้วิชากังฟูของตัวเอง มาช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งแย่งสมบัติในตระกูลอีก ส่วน "ไอ้หนุ่มมวยจีน" (1980) เป็นหนังที่ว่าด้วยความรักความเกลียดของ จีนกับญี่ปุ่น แต่นำเสนอในมุมมองเบา ๆ ไม่ได้จงเกลียดจงชังอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้เหมือนหนังจีนบางเรื่อง หนังพูดถึงหนุ่มกังฟูที่ถูกจับแต่งงานกับสาวญี่ปุ่น และต้องไปพิสูจน์ฝีมือว่าตัวเองคู่ควรกับเธอ ด้วยการประลองกับยอดฝีมือของญี่ปุ่นถึง 7 คน เป็นหนังที่ต้องบอกว่าแทบไม่มีใครตายให้เห็นเลย แต่ทั้งหมดทั้งมวลของหนังโดย หลิวเจียเหลียง ที่มีน้ำเสียงต่อต้านความรุนแรง, ให้มุมมองที่แตกต่าง ไม่ได้นำเสนอกังฟูในฐานะวิชาแห่งการฆ่ากันก็คือ "18 เจ้าอาวุธมหาประลัย" (1981) หนังเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงสมัยซูสีไทเฮา เมื่อช่วงก่อนจะเกิดความโกลาหลในเหตุการณ์ "กบฏนักมวย" เล็กน้อย ที่ราชสำนักชิงได้มีคำสั่งให้เหล่าสำนักมวยมาเป็นกำลังให้กับราชสำนักเพื่อต่อต้านชาวต่างชาติ แต่แล้ว
ยอดฝีมือคนหนึ่งกลับเลือกยุบสำนักสาขาของตัวเองทิ้งแบบไร้สาเหตุ จนต้องมีการส่งคนเข้าไปสืบสาวราวเรื่อง หนังเฉลยว่ายอดฝีมือคนนี้ (หลิวเจียเหลียง สวมบทบาทเอง) ได้เกิดคำถามในใจว่าวิชามวยของตัวเอง กำลังจะตกเป็นเครื่องมือของราชสำนัก ในการมอมเมาประชาชน ด้วยคำลวงให้เชื่อว่าจีนจะสามารถต่อกรกับปืนไฟของต่างชาติได้ หากมีวิชาหมัดมวย และวิชาอยู่ยงคงกระพันธ์พวกนี้ แต่เขากลับมองเห็นว่านั่นเป็นเพียงเรื่องเป็นไปไม่ได้ และมีแต่จะทำให้คนจีนต้องตายไปอย่างไร้ค่าเท่านั้น แน่นอนว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของ 18 เจ้าอาวุธมหาประลัย ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างผู้ทรยศกับบรรดามือดีของสำนักต่าง ๆ ที่ทางการส่งมากำราบเขา แต่เนื้อหาใจความของหนังนั้นก็ชัดเจน ว่าเป็นการตั้งคำถามถึงการใช้ความรุนแรง ถือว่าเป็นคำถาม และบทเรียนที่ปรมาจารย์ หลิวเจียเหลียง ฝากเอาไว้แม้ตัวท่านจะไม่อยู่บนโลกแล้วก็ตาม
ภาพจาก.....อินเตอร์เนท
ที่มาของบทความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น